พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9
แห่ง
ราชวงศ์จักรี
เสด็จขึ้นครองราชย์ตั้งแต่วันที่
9 มิถุนายน
พ.ศ. 2489
จนถึงปัจจุบัน ทรงพระสถานะเป็น
ประมุข
แห่งรัฐ
ตามบทบัญญัติของ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พระองค์ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่า "สมเด็จพระภัทรมหาราช" ซึ่งมี
ความหมายว่า
"พระมหากษัตริย์ผู้ประเสริฐยิ่ง" ต่อมาได้มีการถวายพระราชสมัญญาใหม่ว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช" เมื่อ
พ.ศ. 2530
และ "พระภูมิพลมหาราช" อนุโลมตามธรรมเนียมเช่นเดียวกับ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(รัชกาลที่ 5) ที่ทรงได้รับพระราชสมัญญาว่า "พระปิยมหาราช"
อนึ่ง
ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกพระองค์ว่า "ในหลวง" คำดังกล่าวคาดว่าย่อมาจาก "ใน
(
พระบรมมหาราชวัง
)
หลวง"
บ้างก็ว่าเพี้ยนมาจากคำว่า "นายหลวง" ซึ่งแปลว่าเจ้านายผู้เป็นใหญ่
ทั้งนี้ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระชนมชีพอยู่และทรงอยู่ในตำแหน่งยาวนานที่สุดในโลก และเสวย
ราชย์ยาวนานที่สุดใน
ประวัติศาสตร์ชาติไทย
ด้วยเช่นกัน
[1]
พระบรมราโชวาท ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปีพุทธศักราช ๒๕๕๑
งานราชการนั้น คืองานของแผ่นดิน ข้าราชการจึงต้องสำเหนียก ตระหนักอยู่ตลอดเวลา ถึงฐานะและ
หน้าที่ของตน แล้วตั้งใจปฏิบัติงานทุกอย่าง โดยเต็มกำลังสติปัญญาความสามารถ ด้วยความสุจริตเที่ยงตรง
และด้วยความมีสติยั้งคิด รู้ว่าสิ่งใดถูก สิ่งใดผิด
สิ่งใดควรกระทำ สิ่งใดควรงดเว้น เพื่อให้งานที่ทำ ปราศจาก
โทษเสียหาย และบังเกิดผลประโยชน์ที่แท้ คือความเจริญมั่นคงของประเทศชาติและประชาชน
พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
วันที่ ๓๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๑
เข้าสู่หน้าภาพข่าว/กิจกรรม HR
หน้าหลัก
>>
สงวนลิขสิทธิ์ 2559 - กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ 12 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 ศูนย์บริการประชาชน (Call Center) 0 2016 8888 โทรสาร 0 2282 0889
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์